ในการจัดการประชุมให้ดี มีประสิทธิภาพ ไม่ได้มีปัจจัยแค่ความพร้อมของวิทยากร หรือการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมเท่านั้น แต่อุปกรณ์ในห้องประชุมก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเสียง แล้วอุปกรณ์ห้องประชุมที่ส่งผลสำคัญต่อการเกิดเสียงให้น่าฟัง และดึงดูดผู้เข้าร่วมประชุม จะมีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลย
อุปกรณ์ห้องประชุมที่สำคัญต่อระบบเสียง มีอะไรบ้าง
ลำโพง
ลำโพง ทำหน้าที่ในการขยายเสียงขณะประชุมให้มีเสียงที่ดัง ฟังชัดเจน และได้เสียงคุณภาพเดียวกันอย่างทั่วถึงทั้งห้อง จึงถือเป็นอุปกรณ์ห้องประชุมแสนสำคัญที่ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลของผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งการเลือกลำโพงที่ดีมีคุณภาพก็จะทำให้เสียงภายในห้องประชุมมีความไพเราะน่าฟังมากยิ่งขึ้นได้ ซึ่งยังมีปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อและติดตั้งลำโพง ดังต่อไปนี้
ขนาดของห้อง
การเลือกลำโพงให้เหมาะสมกับขนาดของห้องจะช่วยให้เสียงกระจายตัวได้ดีและทั่วถึง ช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ยินเสียงอย่างชัดเจนไม่ว่าจะอยู่บริเวณไหนของห้องก็ตาม โดยมีคำแนะนำในการเลือกดังนี้
- ห้องประชุมขนาดเล็ก เช่น ห้องประชุมขนาด 10×10 เมตร ควรเลือกลำโพงที่มีกำลังวัตต์อย่างน้อย 20 วัตต์ ที่มีองศากระจายเสียงกว้าง เพื่อให้เสียงกระจายตัวได้ดีทั่วทั้งห้อง
- ห้องประชุมขนาดใหญ่ เช่น ห้องประชุมขนาด 20×20 เมตร ควรเลือกลำโพงที่มีกำลังวัตต์อย่างน้อย 50 วัตต์ขึ้นไป โดยเลือกลำโพงที่มีองศากระจายเสียงแคบหลายตัว เพื่อเน้นการกระจายเสียงไปยังบริเวณที่ต้องการโดยเฉพาะ
ตำแหน่งในการติดตั้ง
ตำแหน่งติดตั้งลำโพงมีส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับห้องประชุม ซึ่งการติดตั้งลำโพงในแต่ละตำแหน่งจะส่งผลต่อเสียงที่ได้ยินแตกต่างกันออกไป
- ติดตั้งลำโพงด้านหน้าห้อง เป็นตำแหน่งที่เหมาะสำหรับห้องประชุมที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยไม่ควรเกิน 15 เมตร เนื่องจากตามกฎฟิสิกส์แล้ว เสียงจะลดทอนความดังลง 6dB ในระยะทางที่เพิ่มขึ้น 2 เท่า เช่น จาก 4 เมตร เป็น 8 เมตร หรือ 8 เมตร เป็น 16 เมตร ทำให้สียงจากลำโพงด้านหน้าอาจไม่สามารถเดินทางมาจนถึงท้ายห้องได้อย่างทั่วถึง และอาจเกิดการดีเลย์
- ติดตั้งลำโพงด้านข้าง เป็นตำแหน่งที่นิยมติดตั้งกับห้องประชุมที่ใช้ไมโครโฟนชุดประชุม หรือห้องประชุมที่ค่อนข้างลึกและมีเพดานสูง เพราะสามารถกระจายเสียงได้ชัดเจน ทั่วถึงทุกพื้นที่ อีกทั้งยังเหมาะกับห้องที่มีเสียงก้อง เสียงสะท้อนสูง เพราะสามารถติดตั้งให้ตำแหน่งลำโพงไม่ไปกระทบกับผนังฝั่งตรงข้ามจนสะท้อนกลับมาได้
- ติดตั้งลำโพงด้านบน เป็นตำแหน่งที่ช่วยซ่อนลำโพงให้ห้องสวยงาม เพราะจะไม่เห็นลำโพงระเกะระกะรอบข้าง อีกทั้งยังช่วยให้สามารถกระจายเสียงได้อย่างทั่วถึง โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของความดังและความชัดเจนของเสียง เหมาะสำหรับห้องที่เพดานไม่สูง เพราะเป็นระดับที่สามารถควบคุมเสียงสะท้อนได้ดี
ระดับเดซิเบล
การเลือกใช้งานเสียง หรือเดซิเบลที่ต้องการในห้องประชุม ส่งผลต่อความดังของเสียงที่ออกมาจากลำโพง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
- ระดับปานกลาง คือระดับเสียงที่ใช้ในการพูด การนำเสนองาน หรือการประชุมทั่วไป ควรเลือกลำโพงที่มีระดับความดังไม่เกิน 80 เดซิเบล และมีกำลังวัตต์อย่างน้อย 20 วัตต์
- ระดับสูง คือระดับเสียงที่ใช้ในการประชุมที่มีเสียงดัง หรือห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถใช้สร้างความบันเทิงได้ เช่น การประชุมที่มีเสียงดนตรี หรือมีเสียงรบกวนจากด้านนอก ควรเลือกลำโพงที่มีระดับความดังไม่เกิน 100 เดซิเบล และมีกำลังวัตต์อย่างน้อย 50 วัตต์ขึ้นไป
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์ห้องประชุมที่สำคัญอย่างมาก เพราะสามารถช่วยให้การสื่อสารชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นจะต้องมีไมโครโฟนภายในห้องประชุมที่มีประสิทธิภาพ โดยมีปัจจัยในการเลือกซื้อ คือ
คำนึงถึงจุดประสงค์การประชุม
จุดประสงค์ในการประชุมแต่ละครั้งย่อมมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อวิธีเลือกไมค์ประชุมที่ต่างกันออกไปด้วย เช่น
- การประชุมเพื่อนำเสนองาน รายงานผลประกอบการ หรือเป็นการประชุมที่ไม่ต้องการฟังความคิดเห็น หรือการมีส่วนร่วมมากนัก ก็อาจเลือกใช้งานไมค์โดยเน้นประสิทธิภาพในการกระจายเสียงเพียงอย่างเดียว เช่น ไมค์คอห่าน ไมค์ตั้งโต๊ะ หรือไมค์แบบติดเพดาน
- การประชุมที่ต้องการความมีส่วนร่วม ที่ผู้พูดอาจต้องเดินรอบห้องประชุม หากเลือกโดยดูแค่คุณภาพเสียงอาจไม่เพียงพอ เพราะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการเดินของผู้พูด ก็อาจเลือกใช้ไมค์ประชุมไร้สาย ไมค์ติดตัวสำหรับการประชุม หรือจะใช้ไมค์หลายตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการประชุมก็ได้เช่นกัน
คุณภาพเสียง
แน่นอนว่าคุณภาพเสียง ย่อมส่งผลสำคัญต่อการใช้งานไมโครโฟนในห้องประชุม โดยมี 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงในห้องประชุม ได้แก่
- ความไว ซึ่งหมายถึงความสามารถในการรับเสียงของไมโครโฟน ยิ่งความไวสูง ไมโครโฟนก็จะยิ่งรับเสียงได้ชัดเจนและดังขึ้น
- ช่วงไดนามิก คือความสามารถในการรับเสียงได้ทั้งเสียงเบาและเสียงดัง ยิ่งช่วงไดนามิกกว้าง ไมโครโฟนก็จะยิ่งรับเสียงได้ครอบคลุมและลดเสียงรบกวนได้ดียิ่งขึ้น
การเชื่อมต่อไมโครโฟน
คงจะไม่ดีแน่ถ้าไมโครโฟนที่ซื้อมาไม่สามารถเชื่อมต่อกับการใช้งานในห้องได้ การเลือกซื้อไมโครโฟนโดยพิจารณาจากการเชื่อมต่อและการติดตั้ง จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์ห้องประชุมเช่นกัน โดยการเชื่อมต่อและติดตั้งไมโครโฟนส่งผลต่อการเลือกไมโครโฟนห้องประชุม ดังนี้
- การเชื่อมต่อแบบมีสาย เป็นการเชื่อมต่อไมโครโฟนเข้ากับระบบเสียงในห้องประชุมด้วยสายสัญญาณ โดยสายสัญญาณที่นิยมใช้ ได้แก่ สายสัญญาณแบบ XLR และสายสัญญาณแบบ RCA ซึ่งหากห้องประชุมมีขนาดใหญ่ การเชื่อมต่อแบบมีสายอาจไม่สะดวกนัก เนื่องจากต้องใช้สายสัญญาณยาวทำให้ดูเกะกะและอาจรบกวนผู้เข้าร่วมประชุมได้ การเชื่อมต่อแบบมีสายจึงเหมาะกับการประชุมที่อยู่กับที่โดยใช้ไมโครโฟนตั้งโต๊ะ หรือการพูดหน้าห้องที่จำกัดพื้นที่ในการเคลื่อนไหว
- การเชื่อมต่อแบบไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อไมโครโฟนเข้ากับระบบเสียงในห้องประชุมด้วยสัญญาณวิทยุ ซึ่งมีข้อดีคือ มีความสะดวกในการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ จึงสามารถเคลื่อนย้ายไมโครโฟนได้สะดวก นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนจากสายสัญญาณได้อีกด้วย ซึ่งหากผู้เข้าร่วมประชุมมีจำนวนมาก การเชื่อมต่อแบบไร้สายอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากอาจมีผู้เข้าร่วมประชุมบางคนอยู่ห่างจากตัวรับสัญญาณมากเกินไป
เลือกอุปกรณ์ห้องประชุมที่ตอบโจทย์การใช้งาน อย่างไมโครโฟนและลำโพงให้เหมาะสมกับระบบเสียงเพื่อการ Conference ขอแนะนำ GYGAR ผู้นำด้านจัดจำหน่ายไมโครโฟนคุณภาพสูง ในราคาย่อมเยา ที่รองรับการใช้งานทุกรูปแบบ พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ และมอบบริการหลังการขายที่รวดเร็ว
สอบถามราคาและปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Call Center: 0-2582-2285 หรือ add ID LINE: @GYGAR เราคือผู้นำเข้าสินค้าสื่อดิจิทัลสำหรับงานนำเสนออย่างครบวงจร และมีศูนย์บริการที่ได้มาตรฐานพร้อมให้บริการ